เป็นพื้นที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และเสนอแนะความต้องการแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย


ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลากหลายของระบบนิเวศน์
เป็นความงดงามที่ธรรมชาติได้สร้างมา สังเกตเห็นต้นไม้ในป่าที่มีทั้งไม้สูง
ไม้ต่ำ กล้วยไม้ ใบเฟิรน มอส เห็ด ฯลฯ แต่ละต้นทำหน้าที่ของตนเองได้
อย่างดี และมีประสิทธิภาพ มีความเคารพกันตามธรรมชาติ

..............
การดำรงวิถีชีวิตของชนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น/ประเทศ
มีอยู่แบบดั้งเดิม การดำรงอยู่และหากินในตามสภาพธรรมชาติ นับเป็นร้อยปีพันปีหมื่นปี
จวบจนเมื่อมีการกำหนดขอบเขตสังคมประเทศที่ชัดเจน มีขอบเขตของรัฐ
การปกครองที่มีกฏหมาย เมื่อราวห้าหกสิบกว่าปีมานี้เอง

เมื่อการปกครองแบบรัฐเข้ามามีการกำหนดพระราชบัญญัติ และการกำหนดกลุ่มสภา
ในหลายรูปแบบโดยเฉพาะในประเทศไทยมีสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่กำหนดนโยบายการพัฒนาทิศทางใหญ่ของประเทศ หลังจากนั้นมีการจัดตั้ง
สภาพัฒนาการเมือง สภาองค์กรชุมชน เป็นต้น

การพัฒนาสังคมตามโครงสร้างมหภาค มีความจำเป็นที่จะต้องก่อตั้งงาน
ในทุกรูปแบบเป็นระบบเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
ร่วมกับภาคีองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากับชนเผ่า
จึงเห็นความจำเป็นที่จะจัดตั้ง สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย(Council
of Indigenous People in Thailand) เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย
การพัฒนาสังคมที่มีชนชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ร่วมกัน
การสร้างความเข้มแข็งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และการสร้างความเข้าใจที่ดี
ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มใหญ่ในสังคม รวมถึงการนำงบประมาณ
มาให้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัมนาชนชาติพันธุ์ในสังคม

และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ สังคมที่จะมั่นคงได้ ต้องดำรงอยู่ด้วยความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ความหลากหลายทางวัยวุฒิประสบการณ์ของผู้คน และอุดมไปด้วยการศึกษา
ที่ตอบสนองต่อความต้องการ และความจำเป็นของคนในสังคม
การมีอยู่ของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย หรือที่จะใช้ชื่อว่าสภาชนเผ่าพื้นเมือง
และชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย จะเป็นกลไกในการรับรองสถานภาพ
และรับรองให้สังคมนานาชาติเห็นความสำคัญของชาติพันธุ์ในสังคม
ซึ่งต้องมีการตระเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ
มีวิสัยทัศน์ที่พร้อมในการเข้าสู่การเตรียมการ และเข้าสู่กลไกดังกล่าวในอนาคต

ประเด็นหนึ่งที่ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันคือ การต่อตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
โดยมีอัตลักษณ์ความเป็นชนเผ่าพื้นเมือง มีความเป็นชนชาติพันธุ์
มีจิตวิญญาณของความเป็นชนชาติพันธุ์ในสภา ฯ ที่ต้องกลับมาพิจารณา
อย่างละเอียดอีกครั้งในวาระต่อไป

การประชุมเพื่อการก่อตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยยังคงต้องมีอีกหลายครั้ง
ด้วยความมุ่งมั่นของผู้มีจิตอาสาทั้งจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
และผู้ที่มีประสบการณ์ในสังคม เพื่อยกร่างสภา ฯ คาดว่าจะต้องเสร็จสิ้น
ร่างแรกในเดือนกรกฎาคม 2555 และนำมาเสนอเพื่อพิจารณาในเดือนสิงหาคม 2555
ที่มีการจัดมหกรรมชนชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยที่กรุงเทพ ฯ
และมันไม่นานเกินรอ.....
........

จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
จากแนวคิดสู่รูปธรรมที่สร้างสรรค์
ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2555 ที่โรงแรมวินเพลส จ.เชียงใหม่


ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/konklaifa

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น