เป็นพื้นที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และเสนอแนะความต้องการแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สภาฮักเจียงฮาย : จุมนุมเก๊าผญาเจียงฮาย


ครือข่ายสภาฮักเจียงฮาย ได้จัดเวทีสัญจร ที่ โรงเรียนวิรุณบริหารธุรกิจ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ได้อู้จากันเรื่อง "เก๊าผญา ภูมิปัญญา" ทุนชุมชนของคนเชียงราย สู่การก้าวย่างไปสู่จังหวัดจัดการตนเอง หนึ่งในสามจังหวัดภาคเหนือ ที่กล้าประกาศตนเองที่จะลุกขึ้นมาจัดการตนเองและพึ่งตนเองให้จงได้



ทำไมท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายต้องจัดการตนเอง

ความสำคัญ
๑) เชียงรายเป็นศูนย์กลางวัติศาสตร์/วัฒนธรรมล้านนาและต้นกำเนิดภาษาไทย
๒) เป็นเมืองชายแดนติดกับพม่า ลาวและมีแม่น้ำโยง สายน้ำนานาชาติอันดับ๑ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๓) เป็นประตู/พื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
๔) เชียงรายมีทรัพยากรธรรมชาติสวยงาม น้ำ ป่า ดินดี ชีวภาพอุดมสมบูรณ์
๕) เชียงรายประชากรกว่า ๑.๒ ล้านคน หลากหลายชนเผ่า และชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
๖) เชียงรายมีสถาบันอุดมศึกษามากกว่า ๗ แห่ง
๗) เชียงรายเป็นท้องถิ่นจังหวัดที่มีกลุ่ม/องค์กรชุมชนเข้มแข็ง/และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนสังคมกว้างขวาง

เหตุผล

๑. โครงสร้างการบริหารจัดการปัจจุบัน(กลไกราชการส่วนภูมิภาคและการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจและงบประมาณส่วนใหญ่ไว้ที่ส่วนกลาง)ไม่เท่าทันปัญหาของท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายและสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง

๑.๑ ปัญหาเศรษฐกิจ /ชายแดน/เกษตรกรรม/อุตสาหกรรม

๑.๒ ปัญหาสังคม/เด็ก/สตรี/คนพิการ/คนชรา/ยาเสพติด

๑.๓ ปัญหาการศึกษา/วัฒนธรรม/ประเพณี

๑.๔ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม/ขยะ/ผังเมือง

๑.๕ ปัญหาคนจน/ ชนเผ่า

๒. เชียงรายดูแลประตูสู่อาเซียน/เป็นเมืองหน้าด่านรองรับปัญหาและการขับเคลื่อนนโยบายสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘

๓. เชียงรายมีต้นทุน/พื้นที่ต้นแบบของการจัดการตนเองมากมาย

๓.๑ ด้านการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน

๓.๒ ด้านการจัดการป่า ที่ดิน แม่น้ำโดยชุมชน

๓.๓ ด้านการจัดการสุขภาพ/สุขภาวะโดยชุมชน

๓.๔ ด้านการพัฒนา/การจัดการชุมชนที่ยั่งยืนโดยชุมชน

๓.๕ ด้านการจัดการปัญหาหนี้สิน/สวัสดิการโดยชุมชน

๓.๖ ด้านการจัดการความมั่นคงทางอาหาร/เกษตรยั่งยืน

๓.๗ ด้านการจัดการที่อยู่อาศัย/คนจนเมือง

๓.๘ ด้านธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

๓.๙ ด้านการบริหารจัดการองค์กร/เครือข่าย/อบต./เทศบาล

ท้องถิ่นเชียงรายจะจัดการตนเองได้อย่างไร?

๑. มีอำนาจและมีทุนในการจัดการตนเอง

๒. มีความมั่นใจ เปิดเผย ชัดเจนว่าทำได้ เพราะ

- ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ(พ.ศ.2550)

- ไม่ผิดกฎหมาย

- สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย

- มีตัวอย่างที่ดีจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญีปุ่น เกาหลีใต้ กลุ่มประเทศยุโรป ฯลฯ

๒. มีเข้าใจชัดเจนในความแตกต่างของคำว่าจัดการตนเองภายใต้ โครงสร้างบริหารเก่า และโครงสร้างบริหารใหม่ที่เหมาะสมกว่า

๓. มีธรรมนูญประชาชนของคนจังหวัดเชียงรายจัดการตนเอง”

ธรรมนูญประชาชนจังหวัดเชียงรายจัดการตนเองคืออะไร?

ธรรมนูญจังหวัดเชียงราย คือ ฉันทามติอันเป็นหลักการ/แนวทาง/ระเบียบข้อปฏิบัติที่เห็นพ้องร่วมกันของประชาชนที่เกี่ยวข้องในสังคมจังหวัดเชียงรายที่จะยึดถือและขับเคลื่อนปฏิบัติโดยตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานที่สอดคล้องกับธรรมนูญแห่งรัฐ และกฎหมายไทยทุกประการ

จากการแลกเปลี่ยนร่วมกันเบื้องต้น ก็พบว่า จริง ๆ แล้วจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพในการบริหารจัดการจังหวัดตนเองได้หรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่คนเชียงรายทุกคน ที่เข้าร่วมสร้างสรรค์สังคมเชียงรายให้น่าอยู่ต่อไป ท่ามกลางกระแสการพัฒนาประชาคมอาเซี่ยน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ใกล้จะมาถึงนี้