เป็นพื้นที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และเสนอแนะความต้องการแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

เวทีจัดทำยุทธศาสตร์ ๓ ปี และข้อเสนอการปรับปรุง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ๕ ภูมิภาค

สภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศ ร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุุทธศาสตร์ ๓ ปี และข้อเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ๕ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๘ - ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ดอนเมือง กรุงเทพฯ

จากเวที ได้มีการทบทวนประการณ์ ของภาคประชาชนย้อนไปกว่า ๓๐ ปี ก่อนมี พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน ซึ่งมองว่าในอดีตนั้น องค์กรชุมชน เป็นองค์กรชุมชนที่สนับสนุนจัดตั้งโดยรัฐ และคิดว่าชาวบ้านมีปัญหา จึงส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม ทำให้กลุ่มต่าง ๆ ขาดอิสระในการบริหาร และไม่ได้มีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาวิเคราะห์ชุมชนร่วมกันของคนในชุมชนอย่างแท้จริง และกลุ่มต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นมา นั้น ยังขาดสถานะเป็นที่ยอมรับ

ต่อมาจึงมีแกนนำทั้ง ๗ ภาค (สมัยนั้นแบ่งการบริหารเป็น ๗ ภาค) ในนามสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศ
ไทย (สอท.) เป็นองค์กรจัดตั้งของประชาชน เพื่อวางแผนการพัฒนาค้นหาความอิสระ และมีสถานะทางกฎหมาย จึงมีกระบวนการผลักดัน พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ขึ้น และเริ่มขับเคลื่อนยกร่าง พ.ร.บ. ช่วงประมาณ เดือนกุมภาพันธุ์ ๒๕๕๐ เป็นต้นมา ซึ่งมีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และให้คำชี้แจงแก่สมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย ว่า "ซ้ำซ้อนและแตกแยก" "สิ้นเปลืองงบประมาณ" "ทำลายพัฒนาการของชุมชน"

สาระเนื้อ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนฉบับร่าง ที่ถูกคัดค้านนั้น ประกอบด้วย ม. ๑๘ มีอำนาจและหน้าที่ ม.๒๔ ทำแผนให้ อปท.และจังหวัดนำไปปฏิบัติ ม.๒๙ สภาองค์กรชุมชนแห่งชาติ ทำแผน เสนอ ครม. กระทรวงไปประกอบจัดทำนโยบายแผนปฏิบัติการ (มาตรานี้ ยังมีอยู่ใน พ.ร.บ. ในฉบับปัจจุบัน) หลังจากนั้น สมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย จึงยอมปรับร่าง พ.ร.บ. ด้งกล่าว เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ต่อมาจึงได้เสนอต่อ สนช. สื่อมวลชนให้ความสนใจมากขึ้น ๓๐๐ นักวิชาการประกาศหนุน ปลายเดือนกันยายน ๒๕๕๐ ผ่านวาระแรก ๖๓ ต่อ ๐ ต่อมามีการประชุมคณะกรรมการธิการ ๑๑ ครั้ง และ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ ผ่านวาระ ๒-๓ อย่างเป็นเอกฉันท์ ๘๓ ต่อ ๐ ในขณะที่ในซีกของรัฐบาล พยายามร่างเป็นระเบียบสำนักนายกแต่ไม่ได้ดำเนินการอะไร และวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจกานุเบกษาในที่สุด


รับรู้อุดมการณ์สภาองค์กรชุมชนแล้ว : ก็เริ่มจดแจ้งชุมชน และจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล และจดแจ้งสภาองค์กรชุมชนต่อกำนัน ซึ่งเป้าหมายนอกจากมีรูปแบบแล้ว ต้องมีอุดมการณ์ทำงานได้ด้วย โดยกำหนดให้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช. มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสภาฯ รวบรวมข้อมูลพัฒนางานสภาฯ ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน จัดทำทะเบียนกลางเกี่ยวกับสภาฯ ติดตามประเมินผลและหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมระดับชาติ หรือรัฐมนตรีมอบหมาย

เป้าหมาย : สภาองค์กรชุมชน คือฐานประชาธิปไตยที่ภาคประชาชนมีบทบาท สำคัญในการวางแผนพัฒนาประเทศ

สภาองค์กรชุมชนตำบล เข้มแข็ง : มีแกนนำที่เข้าใจปัญหา และแนวคิดสภาองค์กรชุมชน มีทุนในชุมชน มีความร่วมมือ และพัฒนาแนวคิดและอุดมการณ์ร่วมกัน จัดบทบาทหน้าที่ภายในที่เหมาะสม หลังจากนั้นจึงได้แบ่งกลุ่มย่อยรายภาคเพื่อให้เกิดกระบวนระดมความเห็นให้แหลมคมและหลากหลาย

อ.ปริชาติ วลัยเสถียร ม.จุฬา แนะให้สภาองค์กรชุมชนค้นหาภาคีหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์และพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ เน้นการสร้างการกระบวนการมีส่วนร่วม รวมถึงการความสัมพันธ์ระดับพื้นที่และงานเชิงประเด็น และการพัฒนาแกนนำโดยเฉพาะเรื่องวิธีคิด เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และการบริหารจัดการที่ดี ก็เป็นหัวใจสำคัญหนึ่งของการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างมีประสิทธิภาพ ในเวทีได้พึ่งเติมว่าหากสภาองค์กรชุมชนต่อไป ต้องเน้นเรื่องกระบวนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในรุ่นต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น