เป็นพื้นที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และเสนอแนะความต้องการแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

สภาคนฮักเจียงฮายกับการขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง

          การก้าวย่างไปอย่างช้า ๆ ของคนเจียงฮาย สู่ จังหวัดจัดการตนเอง  เริ่มเป็นที่ให้ความสนใจของใครหลาย ๆ  ที่ขยายวงออกไปจาก ชุดก่อการดีของสภาคนฮักเจียงฮาย   ซึ่งเริ่มมาจากแนวคิด กระบวนการประชาธิปไตยชุมชน เป็นแนวทางในการจัดการตนเอง ของประชาชนและชุมชน  โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ  กระบวนการประชาธิปไตย เพื่อให้ชุมชนสามารถกำหนดแผนพัฒนาและกำหนดอนาคตของตนเอง ชุมชนได้อย่างสอดคล้อง เอื้ออำนวยต่อประโยชน์ของคนทุกกลุ่มฯ  ร่วมกัน
          การดำเนินงานจึงเริ่มจากการจัดเวทีเล็ก ๆ ในระดับกลุ่ม  หมู่บ้าน หรือตำบล เพื่อแลกเปลี่ยน  ค้นหาสาเหตุของปัญหา  ความต้องการ  และสิ่งที่ทุกคนในชุมชนอยากให้เป็นในอนาคต  พร้อมเสนอทางเลือก ทางออกร่วมกัน  ผ่านกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้ครอบคลุมรอบด้าน  จนก่อเกิดแผนพัฒนาชุมชน  ซึ่งจะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อนำมาสรุปผลอย่างต่อเนื่อง ทุก ๓ เดือน เป็นการสรุปบทเรียนและวางแผนการทำงานต่อไปแบบเข้าใจสังคมและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนแผนใด ปัญหาใดที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยชุมชนได้เอง ก็มีการประสานส่งต่อไปยังหน่วยงาน นับตั้งแต่หน่วยงานท้องถิ่นขึ้นไป
          สภาคนฮักเจียงฮาย  จึงเกิดจากการรวบรวมข้อมูล ผลการสรุปบทเรียน  ผลการดำเนินงาน ชุดประสบการณ์ จากกลุ่มองค์กร  เครือข่ายงานประเด็นต่าง ๆ  ภาคประชาสังคม  นักวิชาการ  เช่น เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดเชียงราย เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย เป็นต้น  จึงค้นพบข้อสรุปร่วมกันว่า ซึ่งปัญหาใหญ่คือ  ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ  การพัฒนาจังหวัด  เช่น  การกำหนดแผนพัฒนาจังหวัด    การปฏิบัติการการแก้ไขปัญหา  การติดตามประเมินผลการพัฒนา  อันเนื่องมาจากกลไกหน่วยงานราชการ ตลอดจนระเบียบปฎิบัติ ไม่เอื้อหรือไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม   ดังนั้นกระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น  ต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ  กันในทุก ๆ  ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง  ด้านเศรษฐกิจการคลัง  ด้านสังคมและวัฒนธรรม
           ภายหลังที่คณะกรรมการปฏิรูป  สำนักงานปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม  ได้ประมวลสรุปข้อเสนอเรื่อง  การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ  ต่อสาธารณะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรให้สังคมไทย  ขบวนองค์กรประชาชนกลุ่มต่าง ๆ  ออกมาขานรับข้อเสนอดังกล่าวอย่างทั่วหน้า  และก่อเกิด  "คณะกรรมการปฏิรูปสังคมเชียงเราย" ขึ้น  โดยมี คุณวิรุณ  คำภิโล  ประธานหอการค้าไทย เป็นประธาน  คุณประนอม เชิมชัยภูมิ  สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง  คุณวิรัตน์  พรมสอน เป็นกรรมการฯ  และมีนางวิไล  นาไพวรรณ์  เป็นผู้ประสานงาน/เลขานุการ  จึงได้ขับเคลื่อนประสานความร่วมมือกับ สมัชชาสุขภาพเชียงราย  สภาหมอเมือง  กลุ่มจุมนุมเก๊าผญา  สภาองค์กรชุมชนตำบล สภาพัฒนาการเมือง มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา   สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ม.ราชภัฎเชียงราย  สำนักงานเกษตรจังหวัด  หอการค้าจังหวัดเชียงราย  เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงราย  ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย  เครือข่ายชาติพันธุ์  ฯลฯ  จึงเวทีปรึกษาหารือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงเกิด " สภาคนฮักเจียงฮายขึ้น"  และมีปนิธานร่วมกัน  คือ

Øมีความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา
Øเคารพความหลากหลายทางความคิดและชาติพันธุ์
Øพึ่งตนเองในทุก ๆ  ด้าน
            เครือข่ายสภาคนฮักเจียงฮาย  ได้ให้ความสำคัญการการสื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานให้ชุมชน ผ่านการจัดเวทีระดับล่างสุด  ผ่าน Facebook/สภาคนฮักเจียงฮาย  อย่างต่อเนื่อง  ทุกคนเห็นพ้องต้องในในการขับเคลื่อน เชียงรายมหานครสู่การจัดการตนเอง โดยไม่เร่งก้าวกระโดด หากพี่น้องประชาชนคนเชียงราย ยังไม่เข้าใจทิศทางที่เห็นพ้องต้องกัน  หรือยังมีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เห็นค้าน   จึงจำเป็นต้องทบทวนทิศทางการก้าวสู่ จังหวัดจัดการตนเองเสียใหม่ ซึ่งนั้นแสดงว่า คนเจียงฮายยังไม่พร้อมจริง....

เขียนโดย....นักเล่าจากชุมชน
         

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เวทีเสวนาแนวทางประสานความร่วมมือแผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย ครั้งที่ ๒


เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมเวียงอินน์ อ.เมือง จ.เชียงราย  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน สภาฮักเจียงฮาย  สภาพัฒนาการเมือง และองค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมจัดเวทีเสวนาแนวทางประสานความร่วมมือแผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย ครั้งที่ ๒  โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน ๒๐๐ คน 

ทั้งนี้เพื่อนำเสนอแผนงานภาคประชาชนต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  นายพินิจ  หาญพาณิชย์ มารับข้อมอบข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์  โดยมีแผนงานที่สอดคล้องตรงกันจำนวน ๗ แผนงาน  จาก ๑๑ แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย   ประกอบด้วย
๑) ด้านการเกษตร
๒) ด้านการท่องเที่ยว
๓) ด้านการศึกษา
๔) ด้านทรัพยากรมนุษย์
๕) ด้านการพัฒนาสังคม
๖) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๗) ด้านป้องกันบรรเทาสาธารณะภัย




การประชุาสมัชชาสภาองค์กรชุมชนตำบล ระดับจังหวัด ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ ณ โรงแรมไดม่อนปาร์คอินน์ เชียงราย รีสอร์ท


สภาองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงราย  จัดประชุมสมัชชาสภาองค์กรชุมชนตำบล ระดับจังหวัด เมื่อวันที่ ๒๘  มิถุนายน ๒๕๕๕  ณ โรงแรมไดม่อนปาร์คอินน์ เชียงราย รีสอร์ท

ซึ่งการประชุมดังกล่าว  มีผู้เข้าร่วมประชุม ๖๐ คน  ผู้แทนสภาฯ ๔๗ คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน และผู้เข้าร่วมอีก ๑๖ คน โดยมีพ่อเลื่อน ธนะเพทย์ กล่าวเปิดการประชุม  และนายวิรัตน์ พรมสอน ประธานสภาองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงราย กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม

ที่ประชุมได้มีการรับรองผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาเพิ่มเติม ตามมาตรา ๖ (๒)
ประกอบด้วย
๑) นายสนั่น  เนตรสุวรรณ           ประธานสภาวัฒนธรรม เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
๒) นายสมัย รัตนจันทร์               ประธานเครือข่ายสุขภาพล้านนา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
๓) นายคำ ไพศาลสิทธิกานต์       อุปนายกสมาคมสื่อมวลชนและนักจัดรายการอาวุโส เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
๔) นายนิรันดร์  แปงคำ             ผอ.สถานการเรียนรู้ภาคประชาสังคม เป็นที่ปรึกษา
๕) นางประคองศรี  ธนะเพทย์     เป็นที่ปรึกษา
ที่ประชุมได้มีการคัดเลือกและรับรองประธานที่ประชุมสภาฯ ระดับจังหวัด ตามมาตรา ๒๘ ดังนี้

๑)      นายประนอม      เชิมชัยภูมิ         เป็นประธาน

๒)      นายวิรัตน์          พรมสอน         เป็นรองประธาน

๓)      นางอำไพวรรณ    ปัญญาชัย        เป็นรองประธาน

๔)      นางอัญชลี         อินต๊ะวงค์        เป็นเลขานุการ

๕)      นางวิไล            นาไพวรรณ์       เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

การคัดเลือกตัวแทนไปประชุมระดับชาติ ๒ คน ตามมาตรา ๒๗ (๕) ที่ประชุมรับรองประธาน  และเลขานุการ ระดับจังหวัดเป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุมระดับชาติ ดังรายชื่อดังต่อไปนี้

๑)     นายประนอม  เชิมชัยภูมิ

๒)      นางอัญชลี  อินต๊ะวงค์ 

การคัดเลือกตัวแทนสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ๑ คน (กรณี ครบวาระ)  ตาม พรบ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ในมาตรา ๗ (๑) ที่ประชุมได้เสนอและรับรองให้ นายวิรัตน์ พรมสอน เป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองจังหวัดเชียงรายคนต่อไป

ทั้งนี้ การคัดเลือกผู้แทนทุกประเภทให้มีผลเร่ิมตั้งแต่วันที่ ๑๘  สิงหาคม ๒๕๕๕  เป็นต้นไป  ซึ่งถือเอาคราวการประชุมระดับจังหวัด ครั้งแรก (๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑)

นอกจากนี้  ยังมีการรับรองแผนยุทธศาสตร์ และระเบียบข้อบังคับของเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงรายร่วมกัน


 

 

 

ทำบุญสำนักงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคเหนือตอนบน





ได้ฤกษ์ เปิด พอช. ภาคเหนือ
มุ่งสู่ศูนย์กลางการขับเคลื่อนงานพัฒนาองค์กรชุมชนจัดการตนเอง

เชียงใหม่ : วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ สำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรชุมชน ๑๕ จังหวัดภาคเหนือ เปิดอาคารสำนักงานภาคเหนือ ณ เลขที่ ๕/๕ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางการทำงานในระดับภาคร่วมกันของขบวนองค์กรชุมชน ประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ และภาคีในท้องที่ ทั้งนี้ขบวนชุมชนและภาคีพัฒนาร่วมแสดงความยินดีกว่า ๔๐๐ คนโดยได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมแสดงความยินดี

          นายฤทธิพงศ์  เตชะพันธุ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมแสดงความยินดีในวันเปิดอาคารสำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญที่พี่น้องขบวนองค์กรชุมชน ๑๕ จังหวัดภาคเหนือ ได้มีศูนย์ประสานงาน และเชื่อมโยงการทำงานของขบวนองค์กรชุมชนกับหน่วยงานภาคราชการ ภาคประชาสังคม และภาคีต่างๆ
\        “ในการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนในพื้นที่ ๑๕ จังหวัดภาคเหนือ ได้รับการหนุนเสริมจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภาคประชาสังคม ภาคีต่างๆ ซึ่งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ประชาชนเป็นแกนหลักในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา เพื่อให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”
         
          พลเอกสุรินทร์  พิกุลทอง ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า  กระผมมีความยินดีที่วันนี้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานภาคเหนือขึ้น เพื่อเป็นศูนย์ประสานงาน และเชื่อมโยงการทำงานของขบวนองค์กรชุมชนกับหน่วยงานภาคราชการ ภาคประชาสังคม และภาคีในท้องที่ต่อไป
          “ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ขบวนองค์กรชุมชน ๑๕ จังหวัดภาคเหนือ จะได้ใช้ประโยชน์จากอาคารสำนักงานภาคเหนือแห่งนี้ เป็นศูนย์กลางการประสานงานของภาคประชาชนอย่างแท้จริง”

          ทั้งนี้ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา สำนักงานปฏิบัติการภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช.ภาคเหนือ มีบทบาทในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานพัฒนาขบวนองค์กรชุมชน ทั้งระดับตำบล จังหวัด และภูมินิเวศน์ และได้กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมในระดับภาคร่วมกัน ส่งผลให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของขบวนองค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคีพัฒนาขึ้น ในพื้นที่ทั้ง ๑๕ จังหวัดภาคเหนือ ภายใต้ยุทธศาสตร์ “การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น” ที่เน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อให้เกิด “การจัดการตนเอง” ของชุมชนท้องถิ่น
          ส่งผลให้เกิดขบวนการพัฒนา โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งอย่างเป็นรูปธรรมอาทิ การสนับสนุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบท หรือ โครงการบ้านมั่นคง ในเขตเมืองจำนวน ๑๓ จังหวัด ๑๐๒ โครงการ ๓๙๖ ชุมชน มีผู้ได้รับผลประโยชน์ จำนวน ๑๑,๐๐๐ ครัวเรือน , การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จำนวน ๖๔๕ กองทุน คิดเป็นร้อยละ ๔๔ ของพื้นที่ตำบล/เทศบาล ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพโดยชุมชน เน้นการพึ่งตนเองและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ครอบคลุมสมาชิก ๔๐๐,๐๐๐ ราย และมีทุนหมุนเวียน จำนวน ๗๖ ล้านบาท , การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนของคนในชุมชนท้องถิ่น มีสภาฯ จัดตั้งแล้ว จำนวน ๔๕๖ ตำบล มีกลุ่มองค์กร ๑๙,๐๐๐ กลุ่ม  , การสนับสนุนตำบลจัดการตนเอง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ผนึกพลังชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเอง เพื่อให้ได้แผนพัฒนาของชุมชนท้องถิ่นระดับตำบลและดำเนินการแก้ปัญหาของตนเอง รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการประสานแผนงาน/ทรัพยากรกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานสนับสนุน มีผลการดำเนินงาน ๕๔๓ ตำบล

          นางทิพย์รัตน์  นพลดารมย์  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กล่าวว่า สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มีปรัชญาสำคัญในการขับเคลื่อนงาน คือ การสนับสนุนให้องค์กรชุมชนเป็นแกนกลางในการพัฒนา ถือว่าวิธีทำสะท้อนวิธีคิด เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภายใต้ยุทธศาสตร์องค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก พื้นที่เป็นตัวตั้ง โดย พอช. มีสำนักงานส่วนภูมิภาค จำนวน ๑๑ สำนักงาน เป็นศูนย์กลางการประสานงานและเชื่อมโยงการทำงานของขบวนองค์กรชุมชนและภาคีพัฒนาในระดับภาค ครอบคลุมพื้นที่ ๗๗ จังหวัด
          “สำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มีแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนงานพัฒนา คือ พัฒนากลไกที่มีพื้นที่กลาง ที่มีบทบาทเป็นผู้ขับเคลื่อนงานพัฒนารวมทั้งออกแบบการทำงานชุมชนระหว่างเจ้าหน้าที่และขบวนองค์กรชุมชนในระดับภาค เพื่อเชื่อมประสานระบบงานพัฒนาระดับพื้นที่ทั้งระดับตำบล จังหวัด และภาค ร่วมกับภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ และภาคีพัฒนา จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ในระบบวิธีคิด ระบบโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และการบริหารงบประมาณ เกิดนวัตกรรมใหม่โดยมีการขับเคลื่อนงานจากฐานรากสู่นโยบาย เพื่อให้ภาคประชาชนมีที่ยืนทางสังคม มีความเชื่อมั่นในคุณค่าและศักยภาพของตนเอง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการขับเคลื่อนงานขบวนองค์กรชุมชนจะได้รับความร่วมมือจากภาคีหน่วยงานต่างๆ โดยมีสำนักงานภาคเหนือเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือในด้านต่างๆ ต่อไป”

          ด้านนายประทีป  บุญหมั้นผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา จากการที่ได้ทำงานเป็นทั้งกรรมการร่วมระดับภาคและเป็นตัวแทนชาวบ้าน ในช่วงที่ผ่านมาเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก คือ มีงานพัฒนาที่เกิดที่ภาคและที่จังหวัดมากขึ้น ที่เกิดจากนโยบายการกระจายการสนับสนุนงานพัฒนาลงท้องถิ่น การเข้าร่วมงานกับ พอช. มีความพึงพอใจที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นชาวบ้านมีส่วนร่วม และเข้ามาทำงานร่วมกันมากขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่ต่างคนต่างทำ เห็นว่าตำบลมีการจัดทำข้อมูลมากขึ้น และส่งข้อมูลมาที่จังหวัด ทำให้จังหวัดมีข้อมูลที่เป็นจริงในการวางแผนพัฒนา มีสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมการทำงาน ทั้งเมืองและชนบท มีบทบาทในการทำงานร่วมกันมากขึ้น
          “และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บ้านใหม่หลังที่สองของหมู่เฮา จะเป็นสถานที่ใช้ในการเชื่อมโยงและทำงานของภาคชาวบ้าน และหน่วยงานภาคีต่างๆ ที่จะได้เชื่อมงานจากข้างล่างสู่ระดับนโยบายต่อไป”

          ครูมุกดา  อินต๊ะสาร เครือข่ายสวัสดิการชุมชน จ.พะเยา  กล่าวว่า เราพยายามต่อสู้เพื่อให้ทุกคนลุกขึ้นมาจัดการตนเองได้ เรามีบทเรียนประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้ทุกคนลุกขึ้นมาจัดการตนเอง โดยใช้ทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ขบวน พอช. เป็นแนวทางที่ดีมากในการเปิดพื้นที่และหาข้อมูลเพื่อหนุนเสริมขบวนองค์กรชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง”

          สำนักงานปฏิบัติการภาคเหนือ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๕/๕ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วยห้องประชุมใหญ่ ศูนย์ประสานงานชาวบ้าน ๑๕ จังหวัดภาคเหนือ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานงานระหว่างขบวนองค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคีพัฒนาในระดับภาคเหนือ

เรียบเรียงโดย  นภาพร  สุวรรณศักดิ์

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

3ปี “สภาพัฒนาการเมือง” กับคำถามท้าทาย “จะอยู่หรือไปต่อ?

เขียนโดย อมราวดี อ่องลา:วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2011

ศูนย์ข่าวสารนโยบายสาธารณะ โดยสำนักงานข่าวอิสรา


การเมืองภาคพลเมืองถูกคาดหวังให้เป็นฐานพัฒนาการเมืองประเทศ โดยมี “สภาพัฒนาการเมือง” ถือกำเนิดตามรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระขับเคลื่อน ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า 3 ปีที่ผ่านไปเกิดรูปธรรมอะไร และอิสระจริงหรือภายใต้สถาบันพระปกเกล้า โต๊ะข่าวเพื่อชุมชนพาไปสะท้อนนานาทัศนะ….

ย้อนไป 23 มกราคม 2551 ประเทศไทยคลอดพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สภาพัฒนาการเมือง ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง และมีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

องค์กรอิสระน้องใหม่ในนาม “สภาพัฒนาการเมือง” จึงถือกำเนิดขึ้นโดยมีองค์ประกอบจากภาคส่วนต่างๆ122 คน โดยให้สำนักงานสภาฯ เป็น หน่วยงานอิสระในสถาบันพระปกเกล้า เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งเป็นหน่วยธุรการและวิชาการ ภายใต้การควบคุมดูแลของประธานสภาฯ

ทั้งยังกำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองขึ้น ใน สถาบันพระปกเกล้า เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการการรวมกลุ่มประชาชนในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถ แสดงความคิดเห็นความต้องการของชุมชนในพื้นที่ด้วย

จากก้าวแรก ผ่านห้วงเวลาหัดเดิน ขับเคลื่อนภารกิจสำคัญทั้งจัดทำแผนพัฒนาการเมือง ซึ่งวันนี้อยู่ระหว่างการติดตามสอดส่องให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำสู่การ ปฏิบัติ การทำงานเชิงพื้นที่ภายใต้โครงการขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน การสนับสนุนกองทุนเพื่อพัฒนาการเมืองจากระดับรากหญ้า และอื่นๆ

ถึงเวลาทบทวน “สภาพัฒนาการเมือง” ควรไปหรืออยู่

วันนี้ สภาพัฒนาการเมือง หรือ สพม. เดินทางมาครบ 3 ปี ซึ่งตามบทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ.นี้ระบุไว้ในมาตรา 41 เมื่อครบกำหนด 3 ปี ให้พิจารณาทบทวนว่าสมควรยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองเป็นการเฉพาะหรือสมควรแก้ไขเพิ่มเติม ในประเด็นอื่นหรือไม่

โดยเบื้องต้น สพม.ได้ตั้งคณะทำงานมี สน รูปสูง รองประธาน สพม.คนที่ 1 เป็นประธานคณะทำงานฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศ ล่าสุดเห็นเค้าโครงจากภาคตะวันออกและอีสานบ้างแล้ว

ลุงสน ชี้แจงว่าการทบทวนครั้งนี้เป็นไปตามเจตนารมณ์ กฎหมาย เป็นเรื่องการพิจารณาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างองค์กร วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ องค์ประกอบของสมาชิก และที่สำคัญคือตัวสำนักงานว่าควรอยู่หรือไปจากสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงประเด็นกองทุนพัฒนาการเมืองฯ ด้วย

“คือตัวสำนักงานฯ-กองทุนตอนนี้อยู่ในพระปกเกล้า ประเด็นนี้จึงมีการถกเถียงกันค่อนข้างมาก มีความเห็นแตกเป็น 2 ส่วน ส่วนใหญ่ก็อยากออกมาเป็นอิสระ มีส่วนน้อยมากที่อยากอยู่ต่อ เพราะยังไม่มั่นใจจึงอยากอยู่กับพระปกเกล้าฯไปก่อน”

ซึ่งหากมองถึงเจตนารมณ์เริ่มแรกแห่งรัฐธรรมนูญ ก่อนมีการประกาศเป็น พ.ร.บ. “สภาพัฒนาการเมือง”ในความหมายที่ทุกคนเข้าใจ จะพ่วงท้ายด้วยคำว่า “องค์กรอิสระ” เสมอ

ประเด็นนี้ รองประธาน สพม. ย้อนความว่าตามที่เข้าใจการเกิดใหม่ขององค์กรในระยะนั้น เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจ มีผลต่อการจ่ายงบประมาณซึ่งไม่เพียงพอหากจะตั้งเป็นองค์กรใหม่ จึงจำเป็นต้องอิงแอบกับที่ใดที่หนึ่ง เหมือนช่วงแรกของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ต้องอาศัยสำนักงาน เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเวลากว่า 2 ปี

ดังนั้น พ.ร.บ. เดิมที่ประชาชนเป็นผู้ยกร่าง จึงถูกแปรญัติติกระทั่งมีรูปร่างหน้าตาดังที่เห็น...การเตรียมปรับโฉมครั้ง ใหม่ จึงเห็นแนวโน้มความต้องการให้กลับไปยึดเจตนารมณ์ฉบับประชาชนอีกครั้ง

ปรับโครงสร้างสมาชิกให้เป็นเอกภาพ-สมส่วน

อีกประเด็นที่ถูกหยิบยกคือ จำนวนสมาชิก 122 คนมากไปหรือไม่ อีกทั้งในจำนวนนี้ยังเป็นสัดส่วนที่มาจากสภาองค์กรชุมชนถึง 76 คน (มากกว่าครึ่งของสภาฯ) ซึ่ง ลุงสน บอกว่าในแง่การทำงานส่วนของตัว แทนชาวบ้านก็มีทั้งข้อดีข้ออ่อน ข้อดีคือคนกลุ่มนี้เป็นตัวแทนจากพื้นที่ ที่เข้าใจบทเรียน ประสบการณ์ มีจุดยืนอยู่กับชุมชนจริง ไม่มีปัญหาในการเชื่อมโยงกับข้างล่าง และสัดส่วนเพียงจังหวัดละ 1 คนก็ไม่ได้มีการท้วงติงใดๆ มีเพียงนิดหน่อยที่เสนอว่าให้กำหนดเกณฑ์ที่มาของสมาชิกเสียใหม่

“เพราะทั้ง 76 คนไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นเนื้อแท้ จำนวนหนึ่งมีปัญหาในการปรับตัว ความไม่เอกภาพจึงเป็นปัญหาในการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้างล่างให้เข้มแข็ง” ลุงสน ชี้ให้เห็นภาพ และว่า

จากเสียงสะท้อนที่ควรปรับน่าจะเป็นสัดส่วนภาคประชาสังคมที่เดิมมีเพียง 16 คนให้มากขึ้น ด้วยเห็นว่าจะเป็นกลไกเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ และการปรับลดหรือยุบในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิโดยตำแหน่ง ซึ่งชื่อก็บอกว่าโดยตำแหน่ง ภาระงานก็คงมากจึงไม่มีเวลาร่วมประชุม จึงไม่ได้เห็นบทบาทที่ประชาชนคาดหวังเท่าไรนัก

ปลดแอกจาก “สถาบันพระปกเกล้า” ตัดวงจรงบงูกินหาง

ขณะที่ พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ให้ความเห็นว่า สถาบัน พระปกเกล้าอยู่ภายใต้รัฐสภา ทำให้ สพม.เองก็ไม่มีอิสระทางการเมืองด้วย ผิดเจตนารมณ์การก่อตั้งอยู่แล้ว โดยความเห็นส่วนตัว การผูกติดแบบนี้เป็นอุปสรรคหลายเรื่องโดยเฉพาะงบประมาณที่ต้องขอภายใต้ สถาบันพระปกเกล้าเช่นกัน

แต่ที่พูดเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าไม่มีงบแล้วทำงานไม่ได้ แต่ทำงานลำบาก นี่เป็นเรื่องจริงที่ต้องยอมรับ ปัญหาแบบนี้เหมือนงูกินหาง คือทางสำนักงบไม่เห็นผลงาน ขณะที่ผลงานเกิดไม่ได้เมื่อไม่มีงบ...

พท.กมลพรรณ เล่าว่า สพม.เองยังมีปัญหาในการบริหารจัดการงบประมาณภายในที่ไม่ทั่วถึง บางจังหวัดควรให้มากกลับได้น้อย เพราะวิธีการจัดสรรจะให้เป็นรายภาค ไม่ได้แบ่งตามเนื้องานที่ควรเป็น เรื่องกองทุนฯก็เหมือนกัน บางครั้งซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่น การคัดเลือกคนเข้ารับก็มีปัญหา

และที่เห็นสอดคล้องคือองค์ประกอบสมาชิกซึ่งเป็นอุปสรรค เพราะที่มาหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นนักปฏิบัติเชิงพื้นที่ แต่ยังขาดความรู้ทางวิชาการ บางส่วนไม่ได้ทำงาน มาประชุมรับเบี้ยเลี้ยงแล้วเดินทางกลับ ซึ่งน่าจะมีวิธีแก้ปัญหาได้ด้วยการเพิ่มที่ปรึกษาทางวิชาการสำหรับสมาชิก ซึ่งบางส่วนคัดค้านว่ามีอยู่แล้วในฐานะสมาชิกโดยตำแหน่ง แต่คำถามคือเขาว่างมาช่วยเราหรือ??

“เราเห็นเสียงสะท้อนที่น่าสนใจบอกถ้าปรับเรื่องสมาชิกไม่ต้องให้เป็น มาจากสภาองค์กรชุมชนได้ไหม นี่แหล่ะถูกต้องเลย จริงๆควรเป็นตัวแทนที่มาจากชุมชนที่ทำงาน เพราะปัญหาคือบางทีสภาองค์กรชุมชนก็แค่อุปโลกน์ขึ้นมา”

ส่วนสัดส่วนไม่ได้กังวล ด้วยเหตุผลว่า 122 คน เป็นตัวแทนชาวบ้าน 76 คน จังหวัดละ 1 คน น่าจะเหมาะสมเพราะขอบเขตพื้นที่การดูแลกว้าง แต่หากข้อเสนอระบุว่าเห็นควรปรับลดจริง ในแง่คนทำงานก็คงไม่ยอมแน่ คิดง่ายๆแค่โหวตในสภาฯก็ไม่ทางชนะแล้ว เพราะมีกัน 76 เสียง เกินครึ่ง!!

แนะคัดเลือกคนให้ตรงงาน ไม่เกี่ยวสภาองค์กรชุมชน

ศรายุทธ อินทะไชย์ สมาชิก สพม.จ.ร้อยเอ็ด ในฐานะตัวแทน จากพื้นที่ ชี้แจงเสียงดังฟังชัดว่าการคัดเลือกสมาชิกที่มาจากสภาองค์กรชุมชน เดิมทีกำหนดขึ้นโดยที่ตัวคนทำงานเองก็ไม่เห็นเนื้องาน ผ่านไปสักระยะจึงเห็นว่าการพัฒนาการเมืองเป็นเรื่องระดับชาติที่ต้องอาศัย สมาชิกที่มีความพร้อมหลายด้าน

“งานใหญ่” สำหรับคนที่มาจากหลากหลาย มีองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ แต่ขาดทักษะทางการประสาน การทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น หากเกาให้ถูกที่คันต้องไม่ใช่การเปลี่ยนวิธีคัดเลือกหรือ “ทิ้ง”สภาองค์กรชุมชน เพราะสภาองค์กรชุมชนก็มาจากชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ซึ่งคือศูนย์รวมพื้นที่อยู่แล้ว

เพียงแต่ “หาคนให้ใช่กับงาน” แบบนี้ อาจง่ายกว่า??

ศรายุทธ ยังว่าสำหรับการทบทวนมาตรา 41 ครั้งนี้ หลักการคือต้องการให้มีความเป็นอิสระ ซึ่งเห็นด้วยว่าในแง่โครงสร้างคงต้องกำหนดให้ชัดเจน แต่โดยหลักการทำงานคงต้องร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าอยู่ เนื่องจากยังมีงานที่มีส่วนเชื่อมร้อย โดยเฉพาะวิชาการที่ต้องอาศัยข้อมูลจากสถาบันฯ อีกมาก

“โครงสร้างในที่นี้คือตัวสำนักงาน จะทำอะไรต้องรอคำตัดสินจากบางท่าน ไม่คล่องตัว ไม่ทันสถานการณ์และงบประมาณที่ควรบริหารจัดการเองได้แล้ว เพราะการพัฒนาการเมืองเป็นเป้าหมายใหญ่ งบที่ได้ควรสมดุล แต่ปัจจุบันได้แค่นิดเดียว ไม่ถึงครึ่งของเป้าหมายที่วางไว้” ศรายุทธ ทิ้งท้าย

………………………………………..

ข้อคิดเห็นทั้งหมดจะมีการรวบรวมและนำไปปรับปรุงเพื่อยกร่างกฎหมายตามกรอบ ที่วางไว้ ขั้นตอนสุดท้ายคือนำเข้าสภาผู้แทนราษฎร ต้องใช้เวลาอีกเป็นปี ระหว่างนี้งานที่ทำอยู่เดิมก็คงดำเนินต่อไป

แต่สิ่งที่สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองกล่าวเป็นเสียงเดียวกันคือระยะเวลา 3 ปีมานี้ กว่าจะทำให้เป้าหมาย ทิศทางของสภาฯชัดเจน กว่าจะเรียนรู้บทบาทหน้าที่และเข้าใจตรงกันต้องใช้เวลามาก เมื่อบทบัญญัติกำหนดว่าเมื่ออยู่ครบ 4 ปี ทั้งหมดจะต้องถอยหลังแบบสมัครใจ เพื่อให้ชุดใหม่ทำหน้าที่แทน อาจต้องเริ่มเรียนรู้กันใหม่อีก นั่นคือปัญหาที่คนภายในห่วง

และที่ห่วงมากกว่านั้นคือต่างคนต่างไม่มั่นใจว่าสถานการณ์ข้างหน้าของกฎหมาย “สภาพัฒนาการเมือง” ฉบับผ่านการทบทวนจะเป็นอย่างไร จังหวะคลอดซ้ำจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะตัวแปรจากการเมืองระดับใหญ่มากมายเหลือเกิน.

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ

๒๒ - ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพฯ เพื่อระดมความคิดเห็น การเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานภารัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และภาคประชาชน ตั้งแต่ในภาวะปกติ รวมถึงพร้อมที่จะป้องกัน บรรเทา และระงับสาธารณะภัย ภัยความมั่นคง และสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ภัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันคนและชุมชนในการบริหารจัดการภัย การจัดทำรองรับของหน่วยงานภาครัฐ และท้องถิ่น

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ภาคประชาชน มีตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบล และองค์กรชุมชนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เข้าร่วมนับ ๑๐๐ คน ในเวทีมีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบทบาทชุมชนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณภัยและด้านความมั่นคง รวมถึงข้อเสนอของชุมชนท้องถิ่น ในการเตรียมความพร้อมของสังคม ในระยะเวลา ๓ วันนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทบทวนกลไก ยุทธศาตร์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบพึ่งตนเอง จังหวัดเชียงราย

เริ่มเช้าวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ ร้านอาหารภูแล คณะกรรมการเครือข่ายแรงงานนอกระบบพึ่งตนเอง จังหวัดเชียงราย ได้จัดประชุมทบทวนคณะกรรมการเครือข่ายฯ เนื่องจากครบวาระ ๒ ปี และทบทวนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเครือข่ายฯ ให้มีพลังและความเข็มแข็งเพิ่มมากขึ้น จากที่ประชุมได้ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์หลัก ๖ เรื่อง ดังต่อไปนี้
๑) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิกและเครือข่าย
๒) การพัฒนาสมาชิก/การขยายกลุ่มองค์กรสมาชิก
๓) การพัฒนาศักยภาพแกนนำ (หลักการ แนวคิด วิทยากรกระบวนการ)
๔) การพัฒนาสื่อ /เครื่องมือ เพื่อการจัดตั้ง/ขยายสมาชิก
๕) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด และระบบภาษี
๖) การพัฒนาธรรมนูญเครือข่ายฯ


ส่วนกรรมการเครือข่ายฯ ได้มีมติรับรองคณะทำงานดังต่อไปนี้

๑) นางพรรัตน์ เสนา ประธาน
๒)นางวิไล นาไพวรรณ์ รองประธาน
๓) นางสาวอัญชลี อินต๊ะวงค์ เลขานุการ
๔) นางอำไพวรรณ ปัญญาชัย บัญชี
๕) นางสาวศิรินภา ชัยวงค์ บัญชี/ประสาน อ.แม่จัน
๖) นางลำไพ สารมณี ลำไพ/ประสาน อ.เวียงชัย
๗) นางบูโผ เขียวแล กรรมการ
๘) นางบุตร ธนาคำ กรรมการ
๙) นางเอกวุฒิ ใหญ่วงค์ กรรมการ
๑๐) นางเบญวรรณ ศิริเวชอำนวยกิจ กรรมการ
๑๑) นางเดือนนภา ปัญญาวงค์ ที่ปรึกษา

ตัวแทนเข้าร่วมประชุมระดับภาค/ชาติ
ตัวหลัก
๑) นางวิไล นาไพวรรณ์
๒) นางสาวศิรินภา ชัยวงค์
๓) นางพรรัตน์ เสนา
ตัวเสริม
๑) นางลำไพ สารมณี
๒) นางสาวอัญชลี อินต๊ะวงค์
๓) นางอำไพวรรณ ปัญญาชัย

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาคประชาชนตื่นตัว "ประชาธิปไตยชุมชน"

สมัชชามประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ประจำปี ๒๕๕๕๔ : สภาพัฒนาการเมือง
ณ ห้องวายุกักษ์ โรงแรงเซ้นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ้นเตอร์ แจ้งวัฒนะ มีสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองทั่วประเทศและตัวแทนสภาองค์กรชุมชนแต่ละจังหวัด ๗๗ จังหวัด เข้าร่วม ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอเจตนารมณ์ของการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยมีนายโสภณ เพชรสว่าง ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักายกรัฐมนตรีรับมอบข้อเสนอจากผู้แทนสมัชชาฯ พร้อมแถลงแนวทางการสนับสนุนของรัฐบาล ส่วนช่วงบ่ายเป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรนูญว่าด้วยสิทธิชุมชน (มาตรา ๖๖, ๖๗) และร่วมแถลงเจตนรมณ์ร่วมกัน

ในเวทีได้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการตนเองได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องให้องค์กรภาคประชาชนเป็นองค์กรหลัก และให้ภาครัฐ เป็นองค์กรพี่เลี้ยง โดยมีการบริหารแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่อง การจัดการดิน น้ำ ป่า และที่สำคัญต้องเคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นอยู่ในแต่ละภาค อาจมีรูปแบบในการจัดการตนเองที่หลากหลายแตกต่างกันไป และสิ่งเดี่ยวที่ผู้แทนจากทุกภาคพูดตรงกัน คือ ต้องมีกระบวนการการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนและทุกเรื่อง

ประชาชนทั่วประเทศพร้อมแล้ว ภาครัฐพร้อมหรือยังที่จะก้าวเดินนำพาประเทศไทย สู่ประชาธิปไตยเต็มใบไปพร้อมๆ กัน เป็นเสียงหนึ่งของผู้เข้าร่วมสมัชชาฯ

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย


ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลากหลายของระบบนิเวศน์
เป็นความงดงามที่ธรรมชาติได้สร้างมา สังเกตเห็นต้นไม้ในป่าที่มีทั้งไม้สูง
ไม้ต่ำ กล้วยไม้ ใบเฟิรน มอส เห็ด ฯลฯ แต่ละต้นทำหน้าที่ของตนเองได้
อย่างดี และมีประสิทธิภาพ มีความเคารพกันตามธรรมชาติ

..............
การดำรงวิถีชีวิตของชนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น/ประเทศ
มีอยู่แบบดั้งเดิม การดำรงอยู่และหากินในตามสภาพธรรมชาติ นับเป็นร้อยปีพันปีหมื่นปี
จวบจนเมื่อมีการกำหนดขอบเขตสังคมประเทศที่ชัดเจน มีขอบเขตของรัฐ
การปกครองที่มีกฏหมาย เมื่อราวห้าหกสิบกว่าปีมานี้เอง

เมื่อการปกครองแบบรัฐเข้ามามีการกำหนดพระราชบัญญัติ และการกำหนดกลุ่มสภา
ในหลายรูปแบบโดยเฉพาะในประเทศไทยมีสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่กำหนดนโยบายการพัฒนาทิศทางใหญ่ของประเทศ หลังจากนั้นมีการจัดตั้ง
สภาพัฒนาการเมือง สภาองค์กรชุมชน เป็นต้น

การพัฒนาสังคมตามโครงสร้างมหภาค มีความจำเป็นที่จะต้องก่อตั้งงาน
ในทุกรูปแบบเป็นระบบเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
ร่วมกับภาคีองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากับชนเผ่า
จึงเห็นความจำเป็นที่จะจัดตั้ง สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย(Council
of Indigenous People in Thailand) เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย
การพัฒนาสังคมที่มีชนชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ร่วมกัน
การสร้างความเข้มแข็งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และการสร้างความเข้าใจที่ดี
ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มใหญ่ในสังคม รวมถึงการนำงบประมาณ
มาให้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัมนาชนชาติพันธุ์ในสังคม

และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ สังคมที่จะมั่นคงได้ ต้องดำรงอยู่ด้วยความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ความหลากหลายทางวัยวุฒิประสบการณ์ของผู้คน และอุดมไปด้วยการศึกษา
ที่ตอบสนองต่อความต้องการ และความจำเป็นของคนในสังคม
การมีอยู่ของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย หรือที่จะใช้ชื่อว่าสภาชนเผ่าพื้นเมือง
และชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย จะเป็นกลไกในการรับรองสถานภาพ
และรับรองให้สังคมนานาชาติเห็นความสำคัญของชาติพันธุ์ในสังคม
ซึ่งต้องมีการตระเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ
มีวิสัยทัศน์ที่พร้อมในการเข้าสู่การเตรียมการ และเข้าสู่กลไกดังกล่าวในอนาคต

ประเด็นหนึ่งที่ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันคือ การต่อตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
โดยมีอัตลักษณ์ความเป็นชนเผ่าพื้นเมือง มีความเป็นชนชาติพันธุ์
มีจิตวิญญาณของความเป็นชนชาติพันธุ์ในสภา ฯ ที่ต้องกลับมาพิจารณา
อย่างละเอียดอีกครั้งในวาระต่อไป

การประชุมเพื่อการก่อตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยยังคงต้องมีอีกหลายครั้ง
ด้วยความมุ่งมั่นของผู้มีจิตอาสาทั้งจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
และผู้ที่มีประสบการณ์ในสังคม เพื่อยกร่างสภา ฯ คาดว่าจะต้องเสร็จสิ้น
ร่างแรกในเดือนกรกฎาคม 2555 และนำมาเสนอเพื่อพิจารณาในเดือนสิงหาคม 2555
ที่มีการจัดมหกรรมชนชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยที่กรุงเทพ ฯ
และมันไม่นานเกินรอ.....
........

จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
จากแนวคิดสู่รูปธรรมที่สร้างสรรค์
ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2555 ที่โรงแรมวินเพลส จ.เชียงใหม่


ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/konklaifa