เป็นพื้นที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และเสนอแนะความต้องการแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ

๒๒ - ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพฯ เพื่อระดมความคิดเห็น การเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานภารัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และภาคประชาชน ตั้งแต่ในภาวะปกติ รวมถึงพร้อมที่จะป้องกัน บรรเทา และระงับสาธารณะภัย ภัยความมั่นคง และสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ภัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันคนและชุมชนในการบริหารจัดการภัย การจัดทำรองรับของหน่วยงานภาครัฐ และท้องถิ่น

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ภาคประชาชน มีตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบล และองค์กรชุมชนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เข้าร่วมนับ ๑๐๐ คน ในเวทีมีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบทบาทชุมชนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณภัยและด้านความมั่นคง รวมถึงข้อเสนอของชุมชนท้องถิ่น ในการเตรียมความพร้อมของสังคม ในระยะเวลา ๓ วันนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทบทวนกลไก ยุทธศาตร์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบพึ่งตนเอง จังหวัดเชียงราย

เริ่มเช้าวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ ร้านอาหารภูแล คณะกรรมการเครือข่ายแรงงานนอกระบบพึ่งตนเอง จังหวัดเชียงราย ได้จัดประชุมทบทวนคณะกรรมการเครือข่ายฯ เนื่องจากครบวาระ ๒ ปี และทบทวนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเครือข่ายฯ ให้มีพลังและความเข็มแข็งเพิ่มมากขึ้น จากที่ประชุมได้ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์หลัก ๖ เรื่อง ดังต่อไปนี้
๑) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิกและเครือข่าย
๒) การพัฒนาสมาชิก/การขยายกลุ่มองค์กรสมาชิก
๓) การพัฒนาศักยภาพแกนนำ (หลักการ แนวคิด วิทยากรกระบวนการ)
๔) การพัฒนาสื่อ /เครื่องมือ เพื่อการจัดตั้ง/ขยายสมาชิก
๕) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด และระบบภาษี
๖) การพัฒนาธรรมนูญเครือข่ายฯ


ส่วนกรรมการเครือข่ายฯ ได้มีมติรับรองคณะทำงานดังต่อไปนี้

๑) นางพรรัตน์ เสนา ประธาน
๒)นางวิไล นาไพวรรณ์ รองประธาน
๓) นางสาวอัญชลี อินต๊ะวงค์ เลขานุการ
๔) นางอำไพวรรณ ปัญญาชัย บัญชี
๕) นางสาวศิรินภา ชัยวงค์ บัญชี/ประสาน อ.แม่จัน
๖) นางลำไพ สารมณี ลำไพ/ประสาน อ.เวียงชัย
๗) นางบูโผ เขียวแล กรรมการ
๘) นางบุตร ธนาคำ กรรมการ
๙) นางเอกวุฒิ ใหญ่วงค์ กรรมการ
๑๐) นางเบญวรรณ ศิริเวชอำนวยกิจ กรรมการ
๑๑) นางเดือนนภา ปัญญาวงค์ ที่ปรึกษา

ตัวแทนเข้าร่วมประชุมระดับภาค/ชาติ
ตัวหลัก
๑) นางวิไล นาไพวรรณ์
๒) นางสาวศิรินภา ชัยวงค์
๓) นางพรรัตน์ เสนา
ตัวเสริม
๑) นางลำไพ สารมณี
๒) นางสาวอัญชลี อินต๊ะวงค์
๓) นางอำไพวรรณ ปัญญาชัย

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาคประชาชนตื่นตัว "ประชาธิปไตยชุมชน"

สมัชชามประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ประจำปี ๒๕๕๕๔ : สภาพัฒนาการเมือง
ณ ห้องวายุกักษ์ โรงแรงเซ้นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ้นเตอร์ แจ้งวัฒนะ มีสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองทั่วประเทศและตัวแทนสภาองค์กรชุมชนแต่ละจังหวัด ๗๗ จังหวัด เข้าร่วม ช่วงเช้าเป็นการนำเสนอเจตนารมณ์ของการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยมีนายโสภณ เพชรสว่าง ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักายกรัฐมนตรีรับมอบข้อเสนอจากผู้แทนสมัชชาฯ พร้อมแถลงแนวทางการสนับสนุนของรัฐบาล ส่วนช่วงบ่ายเป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรนูญว่าด้วยสิทธิชุมชน (มาตรา ๖๖, ๖๗) และร่วมแถลงเจตนรมณ์ร่วมกัน

ในเวทีได้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการตนเองได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องให้องค์กรภาคประชาชนเป็นองค์กรหลัก และให้ภาครัฐ เป็นองค์กรพี่เลี้ยง โดยมีการบริหารแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่อง การจัดการดิน น้ำ ป่า และที่สำคัญต้องเคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นอยู่ในแต่ละภาค อาจมีรูปแบบในการจัดการตนเองที่หลากหลายแตกต่างกันไป และสิ่งเดี่ยวที่ผู้แทนจากทุกภาคพูดตรงกัน คือ ต้องมีกระบวนการการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนและทุกเรื่อง

ประชาชนทั่วประเทศพร้อมแล้ว ภาครัฐพร้อมหรือยังที่จะก้าวเดินนำพาประเทศไทย สู่ประชาธิปไตยเต็มใบไปพร้อมๆ กัน เป็นเสียงหนึ่งของผู้เข้าร่วมสมัชชาฯ

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย


ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลากหลายของระบบนิเวศน์
เป็นความงดงามที่ธรรมชาติได้สร้างมา สังเกตเห็นต้นไม้ในป่าที่มีทั้งไม้สูง
ไม้ต่ำ กล้วยไม้ ใบเฟิรน มอส เห็ด ฯลฯ แต่ละต้นทำหน้าที่ของตนเองได้
อย่างดี และมีประสิทธิภาพ มีความเคารพกันตามธรรมชาติ

..............
การดำรงวิถีชีวิตของชนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น/ประเทศ
มีอยู่แบบดั้งเดิม การดำรงอยู่และหากินในตามสภาพธรรมชาติ นับเป็นร้อยปีพันปีหมื่นปี
จวบจนเมื่อมีการกำหนดขอบเขตสังคมประเทศที่ชัดเจน มีขอบเขตของรัฐ
การปกครองที่มีกฏหมาย เมื่อราวห้าหกสิบกว่าปีมานี้เอง

เมื่อการปกครองแบบรัฐเข้ามามีการกำหนดพระราชบัญญัติ และการกำหนดกลุ่มสภา
ในหลายรูปแบบโดยเฉพาะในประเทศไทยมีสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่กำหนดนโยบายการพัฒนาทิศทางใหญ่ของประเทศ หลังจากนั้นมีการจัดตั้ง
สภาพัฒนาการเมือง สภาองค์กรชุมชน เป็นต้น

การพัฒนาสังคมตามโครงสร้างมหภาค มีความจำเป็นที่จะต้องก่อตั้งงาน
ในทุกรูปแบบเป็นระบบเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
ร่วมกับภาคีองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากับชนเผ่า
จึงเห็นความจำเป็นที่จะจัดตั้ง สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย(Council
of Indigenous People in Thailand) เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย
การพัฒนาสังคมที่มีชนชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ร่วมกัน
การสร้างความเข้มแข็งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และการสร้างความเข้าใจที่ดี
ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มใหญ่ในสังคม รวมถึงการนำงบประมาณ
มาให้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัมนาชนชาติพันธุ์ในสังคม

และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ สังคมที่จะมั่นคงได้ ต้องดำรงอยู่ด้วยความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ความหลากหลายทางวัยวุฒิประสบการณ์ของผู้คน และอุดมไปด้วยการศึกษา
ที่ตอบสนองต่อความต้องการ และความจำเป็นของคนในสังคม
การมีอยู่ของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย หรือที่จะใช้ชื่อว่าสภาชนเผ่าพื้นเมือง
และชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย จะเป็นกลไกในการรับรองสถานภาพ
และรับรองให้สังคมนานาชาติเห็นความสำคัญของชาติพันธุ์ในสังคม
ซึ่งต้องมีการตระเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ
มีวิสัยทัศน์ที่พร้อมในการเข้าสู่การเตรียมการ และเข้าสู่กลไกดังกล่าวในอนาคต

ประเด็นหนึ่งที่ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกันคือ การต่อตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
โดยมีอัตลักษณ์ความเป็นชนเผ่าพื้นเมือง มีความเป็นชนชาติพันธุ์
มีจิตวิญญาณของความเป็นชนชาติพันธุ์ในสภา ฯ ที่ต้องกลับมาพิจารณา
อย่างละเอียดอีกครั้งในวาระต่อไป

การประชุมเพื่อการก่อตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยยังคงต้องมีอีกหลายครั้ง
ด้วยความมุ่งมั่นของผู้มีจิตอาสาทั้งจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
และผู้ที่มีประสบการณ์ในสังคม เพื่อยกร่างสภา ฯ คาดว่าจะต้องเสร็จสิ้น
ร่างแรกในเดือนกรกฎาคม 2555 และนำมาเสนอเพื่อพิจารณาในเดือนสิงหาคม 2555
ที่มีการจัดมหกรรมชนชาติพันธุ์แห่งประเทศไทยที่กรุงเทพ ฯ
และมันไม่นานเกินรอ.....
........

จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
จากแนวคิดสู่รูปธรรมที่สร้างสรรค์
ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2555 ที่โรงแรมวินเพลส จ.เชียงใหม่


ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/konklaifa