เป็นพื้นที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และเสนอแนะความต้องการแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เร่งสร้างนักสื่อสารชุมชน โดยเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย



เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา นักสื่อสารชุมชนจากสภาองค์กรกชุมชนตำบล ๑๘ แห่ง ในจังหวัดเชียงรายได้ฝึกอบรมการพัฒนาเว็บไซต์สภาองค์กรชุมชนตำบลขึ้ิน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกันภายในจังหวัดและภายนอกเครือข่ายได้ติดตามสถานการณ์กัน ตลอดจนการเผยแพร่กิจกรรมดีดี จากชุมชนท้องถิ่นที่ร่วมสร้างความเข้มเข็งจากฐานล่าง ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ก็เป็นพลังหนึ่งที่ช่วยสร้างสังคมประชาธิปไตยชุมชนที่แท้จริงโดยไม่ได้แบ่งฝ่าย เพราะทุกคนคือพี่น้องกัน


ผลงานจะออกมาสวยงามขนาดไหนสามารถติดตามได้ ตามเว็บลิงค์ตาม Manu bar ด้านข้างค่ะ ซึ่งเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงรายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีนักสื่อสารกระจายอยู่ทุกตำบลเพื่อรายงานข่าวจากชุมชน

ข้อเสนอประชาชนกับนักการเมืองหลังการเลือกตั้ง

หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นไป ความหวังของคนจนผู้เดือดร้อนยังรอคอยการช่วยเหลือผลักดัน ตลอดจนกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ความสำคัญความทุกข์ยากของพวกเขาบ้าง
ซึ่งกระบวนการแก้ไขปัญาขององค์กรชุมชน เครือข่ายต่าง ๆ ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการมาแล้วระดับหนึ่ง เช่น การรวมตัวกันเพื่อ จัดเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน ในประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้สิน ของพี่น้องเกษตรกรเชียงราย ปัญหาความมั่นคงในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ในการประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีพ ปัญหาสวัสดิการที่ทำให้คุณภาพชีวิตได้อยู่ดีมีสุข องค์กรชุมชนยังมีการพัฒนาคณะทำงานของตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการจัดทำแผ่นพับ เว็บไซต์ หนังสือเล่มเล็ก รวมถึงการผลิตสื่อโทรทัศน์ การประสานงานหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง เพื่อเชื่อมร้อยแนวทางการทำงานร่วมกันสู่เป้าหมายเดียวกัน คือแก้ไขปัญหาความยากจนทุกมิติ รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชนให้เกิดการยอมรับจากทุกภาคส่วน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง ซึ่งคนในชุมชนย่อมรู้จริงกว่าใคร ๆ
ณ วันนี้ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนฐานราก ฐานล่างสุดของชุมชนที่มาจากตัวแทนของกลุ่มองค์กรในระดับหมู่บ้านและตำบล ได้รวบรวมปัญหา และความต้องการของชาวบ้าน ผ่านการกลั่นกรองหลายเวที จนได้ข้อเสนอต่อตนเอง ข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอระดับโยบาย จึงได้จัดเวทีผนึกพลังภาคีความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชนสู่การปฏิรูปสังคมเชียงราย จากระดับล่างสู่บน เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ร่วมกับ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยเพื่อการต่างประเทศ (NDI) และกลุ่มเครือข่ายปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย เพื่อส่งต่อข้อเสนอให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ขึ้น ตามระบอบประชาธิปไตย
การจัดงานดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เป็นอย่างดี รวมถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายก็ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วม พร้อมให้ข้อคิดเห็นข้อแลกเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งไร้เงาสมาชิกผู้แทนราษฎร แม้แต่คนเดียว ทำให้พี่น้ององค์กรชุมชนหลายเครือข่ายผิดหวังอย่างมาก แต่ก็พยายามที่จะเข้าใจในภาระกิจของท่าน หรืออาจเป็นพราะหมดโปรโมชั่นหลังการเลือกตั้ง
แต่อย่างไรก็ตาม พี่น้องเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย และพี่น้องภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงรายยังเห็นพ้องต้องกันว่า จะร่วมแรงร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็งต่อไปโดยไม่รอหน่วยงานใด ๆ พร้อมกันนี้ยังสัญญาว่า จะมีเวทีติดตามความก้าวหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความก้าวหน้าทางนโยบายต่อไป ทุก ๆ ๓ เดือน และ ๖ เดือนสืบไป จนกว่าหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเราจะให้ความสนใจและนำไปผลักดันสู่รัฐบาล

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สภาองค์กรชุมชน คือ การใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย

alt สภาองค์กรชุมชน คือ การใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย

พร บ.สภาองค์กรชุมชนเพิ่งมีอายุครบสามปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนหลักของสภาองค์กรชุมชนตามพรบ.ฉบับนี้รายงานว่า ปัจจุบันมีการจดแจ้ง(ภาษากฎหมาย) จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนทั่วประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบทแล้วกว่า ๒,๕๐๐ สภา มีสมาชิกซึ่งเป็นองค์กรชุมชนมากกว่า ๕๐,๐๐๐ องค์กร

ตลอดสามปีที่ผ่านมามีคำถามต่อพรบ.ฉบับนี้จำนวนมาก ตั้งแต่คำถามพื้นฐานว่าสภาองค์กรชุมชนคืออะไร? สภานี้เป็นสภาตรวจสอบอบต.หรือเหล่า? เป็นการซ่องสุมกำลังของนายกอบต.คนต่อไปหรือเปล่า ไปจนถึงคำถามใหญ่ว่า เรามีสภาอบต./สภาอบจ./สภาเทศบาลและสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว ทำไมต้องมีสภาองค์รชุมชนขึ้นมาอีก

ในภาคปฏิบัติ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา สภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งขึ้นแล้วซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายชุมชนประเภทหนึ่ง นั้น มีบทบาทมากมายหลายด้าน สภาองค์กรชุมชนที่ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา พื้นที่ใจกลางสึนามิเมื่อหลายปีก่อนหยิบยกเอาประเด็นการขุดทรายขายสิงคโปร์ และการให้สัมปทานเหมืองแร่ในทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลอย่างรุนแรงขึ้นมาเปิดเวทีสาธารณะ ให้ประชาชนทุกฝ่ายรวมทั้งบริษัทเอกชนที่จะดำเนินการและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องมาชี้แจงข้อมูล สภาองค์กรชุมชนตำบลคูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลาหยิบปัญหาการระเบิดหินซึ่งส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของ ชุมชนขึ้นมาเปิดเวทีสาธารณะ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตลอดแนวชายฝั่งแม่น้ำโขงหยิบยกปัญหาน้ำโขงแห้ง ปัญหาการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำ ๑๒ เขื่อนและปํญหาการเสื่อมโทรมของแม่น้ำโขงขึ้นมาถกเถียงและยื่นข้อเสนอต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สภาองค์กรชุมชนจำนวนมากเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำแผนชุมชน ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาของภาคประชาชนในตำบล

alt สภาองค์กรชุมชนตำบลท่าดี อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางในการประสานงานกับเทศบาลนคร นครศรีธรรมราชเพื่อปรึกษาหารือเรื่องการจัดสรรน้ำในคลองท่าดีซึ่งทั้งสอง พื้นที่ใช้น้ำจากคลองท่าดีร่วมกัน เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนชายฝั่งทะเลจ.ชุมพร ๖ สภา มีการประชุมวางแผนพัฒนาชายฝั่งร่วมกัน กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสี่ด้านคือ การพัฒนาชุมนพึ่งตนเอง เช่นการพัฒนาสวัสดิการ ต่อต้านยาเสพติด ทำแผนชุมชน ทำธุรกิจชุมชน เป็นต้น ด้านที่สองคือการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง เช่นการจัดการมลพิษ ฟื้นฟูป่าชายเลน ด้านที่สามคือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการชายฝั่ง เช่น นโยบายสิทธิประมงหน้าบ้าน มาตรการจัดการเครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง เป็นต้น และด้านที่สี่คือ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน

สภาองค์กรชุมชน ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน ได้สานก่อกิจกรรมที่ดำเนินการมาก่อนหน้านั้น โดยมีบทบาทสำคัญในการ การสร้างการเมืองภาคพลเมือง ลดความขัดแย้งทางการเมือง ในการเลือกตั้ง นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่ เฝ้าระวัง / เยาวชน ห้ามขายบุหรี่ ไม่กินเหล้า ไม่เล่นการพนันในงานศพ งดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งเป็นข้อตกลงในชุมชน จึงกลายเป็นมาตรการสังคมที่ทุกคนในตำบลต้องปฏิบัติ บวชป่า ตรวจป่า เฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่า ดูแลดิน น้ำ ป่า อากาศ มี กฎระเบียบในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร กองทันสวัสดิการ ออมวันละ ๑ บาท จำนวนสมาชิก ๑,๓๐๐ คน เฝ้าระวังการใช้สารเคมีทางการเกษตรในเขตชุมชน ห้ามยาฆ่ายาหญ้าในเขต ชุมชน แต่สามารถใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมได้ สุขภาพ ออกกำลังกาย เต้นอารบิค ตรวจสารพิษตกค้างในเลือด รณรงค์สาร เคมี เชื่อมประสานกลุ่มองค์กรชุมชนในตำบล โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ภายใต้กลุ่มบ้าน วัด โรงเรียน สถานีอนามัย (บวรส.)

สภาองค์กรชุมชนนาชุมแสง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น มีกระบวนการจัดทำแผนชุมชนโดยใช้เยาวชนจากโรงเรียนกว่า๑๐๐ คน การสำรวจข้อมูลความต้องการของประชาชนกว่า๘๐๐ ครัวเรือน แล้วนำมาจัดทำแผนพัฒนาตำบลและจัดประชุมคนทั้งตำบลกว่า ๕๐๐ คนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนดังกล่าวซึ่งดำเนินงานระหว่างปี ๒๕๕๓-๒๕๕๕ ฯลฯ

รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ มาตราสามระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อธิบายขยายความได้ว่าอำนาจของหน่วยงานของรัฐทุกประเภทมาจากการให้อำนาจของ ประชาชนเพื่อจัดการกิจการสาธารณะ อำนาจที่ว่านั้นมาจากกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย ตามหลักการประชาธิปไตยที่เข้าใจกันทั่วโลกนั้น การที่ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะมอบอำนาจทั้งหมดให้ผู้แทน ดังที่เข้าใจกันผิดๆไม่ ประชาชนยังมีอำนาจเต็มเปี่ยมที่จะทักท้วง วิพากษ์วิจารณ์ แทรกแทรงการใช้อำนาจและแม้แต่ถอดถอนบรรดาผู้แทนในสภาทุกระดับ รวมทั้งประชาชนยังมีอำนาจโดยตรงที่จะจัดการบ้านเมืองด้วยตนเองเมื่อเห็นว่า ผู้แทนทั้งหลายไม่ทำตามเจตจำนงค์ร่วมของประชาชน เช่น การให้อำนาจประชาชนในการเสนอกฎหมาย

พรบ.สภาอองค์กรชุมชนก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ประชาชนจะใช้อำนาจโดยตรงในการจัดการประเทศ เพราะเจตนารมย์ของพรบ.สภาองค์กรชุมชนคือ “สนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ”alt

คำตอบต่อคำถามที่ว่าทำไมมีสภาต่างๆอยู่แล้วจึงต้องมีสภา องค์กรชุมชนอีกจึงชัดเจนอยู่ในเจตนารมย์ของกฏหมายดังกล่าวมาแล้ว คือสภาอบต.สภาอบจ.สภาเทศบาลนั้นเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในทางอ้อม(ผ่านตัวแทน)ของปวงชนชาวไทย แต่สภาองอค์กรชุมชนเป็นการใช้อำนาจทางตรงของประชาชน.....แล้ว บรรดาตัวแทนที่อยู่ในสภาต่างๆและข้าราชการซึ่งใช้อำนาจตามที่ประชาชนตัวจริง มอบให้จะค่อนขอดสภาองค์กรชุมชนซึ่งเป็นสภาของตัวจริงกันไปถึงไหน

สามารถติดตามได้ที่

http://www.codi.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1667%3A2011-09-06-11-16-14&catid=42%3A2009-09-22-05-47-57&Itemid=65&lang=th อังคาร, 06 กันยายน 2011 18:01 อัมพร แก้วหนู

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ภาคเหนือ



เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ ได้ร่วมผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ผู้จ้างงาน หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการซึ่งตกลงจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้านให้ทำงานที่รับไปทำที่บ้านไม่ว่าตกลงมองงานโดยตนเองหรือโดยฝ่ายตัวแทนหรือกระทำในลักษณะผู้รับเหมาช่วงก็ตาม
ผู้รับงานไปทำที่บ้าน หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งตกลงกับผู้จ้างงานเพื่อรับทำงานอันเป็นงานที่รับไปทำที่บ้าน
งานที่รับไปทำที่บ้าน หมายความว่า งานผู้จ้างงานในกิจการอุตสาหกรรมมอบให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านเพื่อนำไปผลิตหรือประกอบนอกสถานประกอบการกิจการของผู้จ้างงาน หรืองานอื่นที่กิหนดในกฎกระทรวง
วันนี้ ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ จึงได้มีการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อสะท้อนปัญหาอุปสรรคการทำงานของกลุ่มอาชีพที่ผลิตเอง ขายเอง ตลอดจนเทคนิคการแก้ไขปัญหา การรับการสนับสนุนจากรัฐ มุมมองและทัศนคติต่อเรื่องความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่ส่งกระทบต่อการค้า ของผู้ประกอบการรายย่อย