เป็นพื้นที่ให้องค์กรชุมชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และเสนอแนะความต้องการแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สภาองค์กรชุมชนตำบลปอ

ตำบลปอ มีลักษณะเป็นภูเขาสูงเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบระหว่างเชิงเขาเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยระหว่างเทือกเขาดอยยาว ดอยผาหม่นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑,๖๓๕ เมตร พื้นที่ป่าบางส่วนยังมีความอุดมสมบูรณ์ตามบริเวณแนวชายแดนที่ติดกับสาธารณะรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มีสัตว์ป่าหลายชนิด บางส่วนถูกบุกรุกเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวโพด หอมหัวใหญ่ ผักเมืองหนาวและไม้ผล ลำไย ส้ม ส้มโอ แต่ปัจจุบันเกษตรกร หันมาปลูกยางพารามากขึ้น และเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะดอยผาตั้งซึ่งเป็นหมู่บ้านของผู้อพยพทหารจีนคณะชาติกองพลที่ ๙๓ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย พื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง หน่วยงานทหาร และองค์การบริหารส่วนตำบลปอ มีระยะทางห่างจากตัวเมืองเชียงราย ๑๖๔ กิโลเมตร ประชากรทั้งสิ้น จำนวน ๔,๓๖๗ หลังคาเรือน ๑๕,๖๗๔ คน ชาย ๘,๒๒๖ คน หญิง ๗,๗๔๘ คน มีชนเผ่าที่หลากหลาย อาทิเช่น ไทลื้อ อาข่า จีนคณะชาติ ม้ง และคนพื้นเมือง

ที่ผ่านมามีกระบวนการทำงานพัฒนามาอย่างต่อเนื่องของเครือข่ายชมรมม้ง ๕ จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน ต่อมาได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายในระดับพื้นที่ คือ เครือข่ายเกษตรดอยยาว- ดอยผาหม่นขึ้นโดยมีสมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายทรัพยากรที่ดินจังหวัดเชียงรายให้การหนุนเสริม เครือข่ายมีพื้นที่ครอบคลุม ตำบล อำเภอ คือ ต.ปอ อ.เวียงแก่น ต.ตับเต่า อ.เทิง และ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล มีการขับเคลื่อนงานในประเด็นการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ส่วนประเด็นอื่น ๆ ก็มีการทำงานแบบควบคู่กันไป เช่น ประเด็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ ศูนย์เรียนรู้ทางวัฒนธรรม ชนเผ่าม้ง ฯลฯ

สภาองค์กรชุมชนตำบลปอ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยมีหมู่บ้านเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาฯ จำนวน หมู่บ้านจาก ๒๐ หมู่บ้าน มีองค์กรชุมชนจำนวน ๒๙ กลุ่ม โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าม้ง ส่วนคนพื้นเมืองยังไม่เข้าร่วมในการจัดตั้งสภาฯ และต่อมาได้มีการจัดแจ้งกลุ่มเพิ่มอีกจำนวน ๕ กลุ่ม รวมเป็น ๓๔ กลุ่ม โดยมียุทธศาสตร์การทำงาน ๗ เรื่อง โดยเน้นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นประเด็นหลัก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น